ตัดกรามทำอย่างไร? ทำไมถึงมีทั้งการเปิดแผลในปากและนอกปาก แล้วตัดอย่างไรให้สวยดูเป็นธรรมชาติ อย่าพลาดบทความนี้ครับ
สวัสดีครับ หมอโฮป นพ.อธิคม ถนัดพจนามาตย์ ศัลยแพทย์ตกแต่ง กับ Channel Doctor Hope Plastic Surgery กับความรู้และความจริงในเรื่องศัลยกรรมตกแต่งครับ และบทความนี้เป็นเรื่องของการตัดกรามครับ
ทำจมูก ทำตาเหมือนดาราคนนี้แล้วทำไมหน้าเรายังไม่เหมือนเขา นั่นก็เพราะสิ่งที่มีผลอย่างมากต่อรูปร่างของใบหน้าก็คือกระดูกโครงหน้าครับ
ในบทความนี้ผมจะอธิบายว่าการตัดกรามนั้นทำอย่างไร ส่วนเรื่องส่วนอื่น เช่น กระดูกโหนกแก้มผมเคยได้พูดเกี่ยวกับการแก้ไขกระดูกโครงหน้าโดยวิธีการยุบโหนกแก้มไปแล้วในบทความ ”เบื้องหลังการผ่าตัดยุบโหนกแก้ม” ใครสนใจลองไปดูกันได้ครับ
รูปร่างของกระดูกกรามล่างหรือกระดูก Mandible มีผลต่อรูปหน้าบริเวณส่วนล่างครับ ทั้งมุมกรามและคาง ซึ่งเรื่องคางผมเคยพูดไปแล้วเหมือนกันลองย้อนกลับไปอ่านกันนะครับ
ปัญหาที่พบบ่อยในคนไทยเราก็คือกรามใหญ่ หน้ากว้าง หน้าเหลี่ยม ซึ่งการแก้ไขก็ต้องตรวจดูก่อนว่าปัญหาเกิดอะไร
โดยปัญหาจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
การผ่าตัดกรามเพื่อให้หน้าเรียวขึ้นจะทำ 2 บริเวณ คือ บริเวณมุมกราม และบริเวณคางครับ
ถ้าทำทั้ง 2 ส่วนร่วมกัน มักจะเรียกกันว่าการตัดกราม V-line ครับ เรื่องของการผ่าตัดบริเวณคางเพื่อให้คางยาวขึ้นหรือแคบลงผมได้อธิบายไว้ในบทความก่อนหน้านี้แล้วเรื่อง”เสริมคางแก้ได้ทุกปัญหา..จริงหรือ” นะครับ ในบทความนี้ผมจะอธิบายในส่วนของการตัดกระดูกมุมกรามนะครับ
กระดูกมุมกรามเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ใบหน้าส่วนล่างดูกว้างหรือแคบครับ การตัดกระดูกมุมกรามคือจะตัดบริเวณนี้ออกครับ แต่ไม่ใช่ว่าจะตัดแค่ไหนก็ได้ครับ สิ่งสำคัญคือในกระดูกกรามล่างจะมีเส้นประสาทที่รับความรู้สึกวิ่งผ่านกลางกระดูกครับ
จะเห็นได้ว่าตรงนี้มีรูอยู่ซึ่งเป็นทางเข้าของเส้นประสาทและรูตรงนี้จะเป็นทางออกของเส้นประสาทมาที่ปากล่างและคางครับ ถ้าตัดไม่ระวังไปทำให้เส้นประสาทบาดเจ็บก็จะมีอาการชาตามมาครับ
ส่วนแนวที่เส้นประสาทวิ่งผ่านกลางกระดูกไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกจึงต้องทำ x-ray เพื่อดูครับ
แนวเส้นสีแดงนี้ก็คือแนวของเส้นประสาทที่ผมดูจากใน x-ray ครับ การตัดมุมกรามก็จะตัดได้ไม่เกินแนวเส้นประสาทนี้ครับ
ถ้าสังเกตดูคนทั่วไปแนวของกรามจะเป็นเส้นตรงถ้าตัดกรามออกมาแล้วเป็นแนวโค้งก็จะดูไม่เป็นธรรมชาติครับ
เลื่อยที่ใช้ตัดกรามจะมีอยู่ 2 แบบ คือแบบนี้ซึ่งจะตัดในแนวตั้งฉากกับด้ามเลื่อย และแบบนี้ซึ่งจะตัดในแนวขนานกับด้ามเลื่อย
ถ้าใช้เลื่อยแบบแรกเข้าไปตัดบริเวณมุมกรามโดยเปิดแผลในปากจะเห็นได้ว่าจะไม่สามารถตัดให้เป็นแนวเส้นตรงได้จะต้องเป็นแนวโค้งเพราะตัวเลื่อยจะติดมุมปากและถ้าไม่ชำนาญตัดแล้วเป็นแบบนี้ก็จะเกิดมุมตรงนี้ครับ แต่ถ้าใช้เลื่อยแบบที่สองตัดจะสามารถตัดเป็นแนวเส้นตรงได้ แต่จะเห็นได้ว่าไม่สามารถตัดโดยเปิดแผลในปากได้จึงต้องเปิดแผลเล็กๆ ด้านนอกครับ
แล้วจะทำอย่างไรถ้าไม่อยากมีแผลด้านนอกและอยากได้แนวตัดที่เป็นเส้นตรง? ก็ต้องใช้ใบเลื่อยที่ออกแบบมาพิเศษครับ จะทำให้สามารถตัดเป็นแนวเส้นตรงได้โดยที่ไม่ต้องเปิดแผลด้านนอกครับ
ดูจากกะโหลกจำลองนี้ดูเหมือนจะง่ายนะครับ แต่ในความเป็นจริงในขณะทำผ่าตัดไม่สามารถมองเห็นกระดูกได้ทั้งหมดแบบนี้ครับ แผลผ่าตัดจะอยู่ในปากและมองได้จากด้านหน้าหรือเฉียงเล็กน้อย ทำให้มองเห็นกระดูกมุมกรามด้านหลังได้ยากครับ และนี่คือตัวช่วยครับ เป็นตัวกำหนดแนวตัดซึ่งทำการคำนวนจากภาพ CT scan หรือ x-ray computer 3 มิติครับ เมื่อใส่เข้าไปก็จะตัดได้แม่นยำ ตามแนวที่ต้องการครับ
และนี่ก็คือเบื้องหลังการตัดมุมกรามครับ การผ่าตัดกระดูกโครงหน้าเป็นการผ่าตัดที่มีผลต่อรูปหน้ามากกว่าการทำศัลยกรรมอื่นๆค่อนข้างมากครับ และผลลัพธ์ที่ดีเกิดจากการวางแผนการผ่าตัดที่ละเอียด แม่นยำครับ
ถ้ามีปัญหาเรื่องของการทำศัลยกรรม สนใจอยากทำศัลยกรรม อยากได้คำปรึกษา ส่งรูปมาให้ผมช่วยประเมินใน line official ที่ @dr.hope